เมื่อปี 2015 ทีมนักวิจัยนานาชาติจากจีน สเปน และสหราชอาณาจักร ขุดพบฟอสซิลกะโหลกศีรษะและขากรรไกรล่างของมนุษย์โบราณ จากบริเวณถ้ำหัวหลง ทางตะวันออกของจีน พร้อมกับตัวอย่างอื่น ๆ อีก 15 ชิ้น ซึ่งคาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากปลายสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง หรือราว 300,000 ปีก่อน
แม้ฟอสซิลกะโหลกและขากรรไกรล่างที่พบจะดูเหมือนชิ้นส่วนของมนุษย์โบราณ แต่ผลการการวิจัยใหม่ระบุว่า มันไม่เหมือนกับฟอสซิลมนุษย์โบราณอื่นๆ ที่เคยมีการขุดค้นพบ และอาจเป็น “มนุษย์โบราณสายพันธุ์ที่ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อน”
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ช่วงปลายของสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับวิวัฒนาการของโฮมินิน หรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ถือว่าเป็นมนุษย์หรือมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมนุษย์
หัวลูกศรโบราณยุคสำริดอายุ 3,000 ปี แต่ทำจาก “วัตถุนอกโลก”
หลักฐานจากฟอสซิล บรรพบุรุษมนุษย์ “อาจเคยกินกันเองเป็นอาหาร”
ฟอสซิลใหม่เผย มนุษย์ยุคแรกออกจากแอฟริกามายังเอเชียเร็วกว่าที่คาด
การศึกษาโดยทีมวิจัยพบว่า ฟอสซิลขากรรไกรล่างที่พบ ซึ่งตั้งชื่อว่า “HLD 6” นั้น เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด และไม่จัดอยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานใด ๆ ที่มีอยู่ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ “ไม่เคยมีมนุษย์โบราณสายพันธุ์ใด มีขากรรไกรล่างเหมือนอย่าง HLD 6”
ก่อนหน้านี้ มีการค้นพบฟอสซิลโฮมินินสมัยไพลสโตซีนจำนวนมากในประเทศจีนที่มีลักษณะแตกต่างจากมนุษย์โบราณที่เคยรู้จัก ทำให้ถูกพิจารณาว่าเป็นฟอสซิลที่ผิดปกติ ไม่เคยมีการคิดไปในทำนองว่าเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อน
อย่างไรก็ตาม การค้นพบนี้พร้อมกับการวิจัยล่าสุดอื่น ๆ กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ผู้คนทราบเกี่ยวกับรูปแบบวิวัฒนาการของมนุษย์ในช่วงปลายของสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง
นักวิจัยได้นำขากรรไกรล่าง HLD 6 ไปเทียบกับฟอสซิลมนุษย์โบราณยุคไพลสโตซีน และกระดูกมนุษย์สมัยใหม่ และพบว่า HLD 6 มีลักษณะของฟอสซิลทั้งสองกลุ่ม
HLD 6 มีรูปร่างคล้ายกับขากรรไกรล่างของ โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens) ซึ่งเป็นสายพันธุ์มนุษย์สมัยใหม่ของเราที่วิวัฒนาการมาจาก โฮโม อิเร็กตัส (Homo erectus) แต่ยังมีลักษณะบางอย่างของ เดนิโซแวน (Denisovan) ซึ่งเป็นมนุษย์อีกกลุ่มที่วิวัฒนาการมาจาก โฮโม อิเร็กตัส เช่นกัน นั่นคือ ไม่มีคาง
มาเรีย มาร์ตินอน-ตอร์เรส ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิวัฒนาการมนุษย์แห่งชาติ (CENIEH) ในสเปน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “HLD6 ไม่ได้แสดงคางที่แท้จริง แต่มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับลักษณะของ โฮโม เซเปียนส์ โดยทั่วไป”
เธอเสริมว่า “ฟอสซิลถ้ำหัวหลงเป็นประชากรฟอสซิลในยุคแรกสุดที่รู้จักในเอเชียที่นำเสนอสิ่งที่มีลักษณะเหมือนทั้งมนุษย์โบราณและโฮโม เซเปียนส์” และเสริมว่า HLD 6 ควรจัดประเภทให้เป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ที่ยังไม่ได้ระบุชื่อ
นักวิจัยยังได้พิจารณาอายุของบุคคลที่เป็นเจ้าของกระดูกขากรรไกร โดยคาดว่าเป็นเด็กอายุ 12-13 ปี
มาร์ตินอน-ตอร์เรสย้ำว่า จำเป็นต้องมีการทำงานมากกว่านี้ เพื่อกำหนดที่ทางของ HLD 6 และมนุษย์สายพันธุ์ที่ไม่เคยรู้จักนี้อย่างเหมาะสม “ต้องหาฟอสซิลและมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจว่าพวกเขาอยู่ตรงไหนในสายวิวัฒนาการของมนุษย์”
อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก Xiujie Wu/National Research Center on Human Evolutionคำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท