วันที่ 31 พฤษภาคม ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาในคดีที่ นายสาธิต รังคสิริอดีตอธิบดีกรมสรรพากร ฟ้องกรมสรรพากร และ อธิบดีกรมสรรพากร กรณีมีคำสั่งกรมสรรพากรที่ 650/2560 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ให้นายสาธิตรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
สืบเนื่องมาจากกระทรวงการคลังได้มีหนังสือ แจ้งกรมสรรพากรให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดนายสาธิต และ นาย ศ. สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 22 ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นเท็จเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และชดใช้ค่าเสียหาย
ต่อมาอธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และคณะกรรมการฯ ได้เสนอรายงานผลการสอบสวน โดยมีมติให้นายสาธิตต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 1 ใน 3 ของจำนวนร้อยละ 80 จากมูลค่าความเสียหาย คิดเป็นเงินจำนวน 854,943,021.65 บาท เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560 และได้รายงานไปยังกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ จากนั้น กรมสรรพากรได้มีคำสั่งกรมสรรพากรที่ ที่ 650/2560 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ให้นายสาธิตรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนดังกล่าว แต่นายสาธิตไม่เห็นด้วยจึงได้มีหนังสืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่ไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ จึงได้นำคดีมาฟ้องต่อศาล ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
ศาลปกครองสั่งเพิกถอน EIA ตึกสูง “ศุภาลัย ลอฟท์” รัชดา-วงศ์สว่าง
ชาวเชียงใหม่ล่ารายชื่อ ฟ้องศาลปกครอง "ประยุทธ์" แก้วิกฤติหมอกควันเหลว
โดยศาลปกครองเห็นว่า พฤติการณ์ของนายสาธิตที่เป็นผู้ใช้หรือร่วมรู้เห็นการกระทำความผิดดังกล่าว เพื่อให้ตนได้รับผลประโยชน์เป็นทองคำแท่ง ทำให้เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากรที่ต้องคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กลุ่มบริษัทที่ไม่ได้ประกอบกิจการจริง ถือได้ว่าเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นการกระทำละเมิดต่อกรมสรรพากรด้วยความจงใจ นายสาธิตจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กรมสรรพากรตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
และการที่กรมสรรพากร โดยอธิบดีกรมสรรพากร มีคำสั่งกรมสรรพากร ที่ 650/2560 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ให้นายสาธิตรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นเงินจำนวน 854,943,021.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลปกครองกลางจึงพิพากษายกฟ้อง